วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บทที่ 8 คอมพิวเตอร์กับงานด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information System : MKIS)
ระบบสารสนเทศทางการตลาดหมายถึง กระบวนการเพื่อการรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การวิเคราะห์และการเผยแพร่ข้อมูลทุกชนิดที่เกี่ยวข้องทางการตลาดอย่างเป็นระเบียบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและการดำเนินการทางกการตลาด เพื่อตอบสนองความพอใจของตลาด
ระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information System) ประกอบด้วย
1.ระบบสารสนเทศภายในกิจการ
2.ระบบข่าวกรองทางการตลาด
3.ระบบการวิจัยการตลาด
4.ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
5.ระบบพยากรร์ยอดขาย
หลักการตลาด
1.ความหมาย
    คอตเลอร์และอาร์มสตองได้ให้นิยามว่าการตลาด หมายถึง  กระบวนการสังคมละการจัดการที่มุ่งสนองถึงความจำเป็น และความต้องการให้กับบุคคลและกลุ่มต่างๆ  โดยอาศัยการคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนคุณค่าและผลิตภัณฑ์
ให้กับผู้อื่น  สรุปได้ว่า องค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด 2 แนวทาง  คือปรัชญา ด้านการตลาดและปรัชญาด้า นการตลาดสังคม  ซึ่ งประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ ดังนี้
1.ต้องมีการตอบสนอง และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2. จะต้องมีการบูรณการและความร่ามมือของทุกฝ่ายในองค์กร
3.จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว และการให้ความสำคัญจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์กร
         2.องค์ประกอบของการตลาด                                                                                                                          
    2.1ความจำเป็น   เป็นอำนาจพื้นฐานที่ทำให้บุคคลต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ของร่างกาย ประกอบด้วยความต้องการในปัจจัย 4 ได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เป็นต้น
    2.2ความต้องการ   เป็นรูปแบบหนึ่งของความจำเป็นที่พัฒนามาจากความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เป็นความปรารถนา
ของบุคคลที่จะได้รับการตอบสนองความพอใจ ซึ่งเป็นความต้องการในระดับที่ลึกซึ้งกว่าความจำเป็น
    2.3. ความต้องการซื้อ   เป็นความต้องการผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่ต้องมีความสามารถในการซื้อ
3.การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
    3.1 การแบ่งส่วนตลาด คือ การตัดสินใจว่าส่วนตลาดใด คือ โอกาสในการบรรลุเป้าหมายของธุรกิจมากที่สุด โดยอาจใช้เกณฑ์หลายลักษณะ เช่น เกณฑ์ภูมิศาสตร์  ประชากรศาสตร์  จิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ โดยจัดทำการแบ่งกลุ่มผู้ซื้ออย่างชัดเจนตามความจำเป็น ลักษณะเฉพาะและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน ซึ่งลูกค้าที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มตลาดเดียวกันก็คือ กลุ่มลูกค้า ที่มีพฤติกรรมการตอบสนองสิ่งกระตุ้นทางการตลาดในทิศทางที่คล้ายๆ กันนั่นเอง ลูกค้าในแต่ละส่วนตลาดจึงมักมีความต้องการผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมการตลาด (Marketing  Mix)  ที่ต่างกัน
    3.2  การกำหนดตลาดเป้าหมาย คือ การประเมินความน่าสนใจของแต่ละส่วนตลาดและเลือกส่วนตลาดที่มีโอกาสสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าที่มีความต้องการหรือลักษณะที่เหมือนกันมากที่สุด  และสามารถดำรงคุณค่านั้นในระยะยาว โดยธุรกิจอาจะคาดหวังในการทำกำไรได้มาก แม้จะอยู่ในภายใต้ยอดขายที่จำกัดก็ตาม
    3.3  การวางตำแหน่งมูลค่าตลาด คือ การจัดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่มีความชัดเจน มีลักษณะเฉพาะและสร้างความพึงปรารถนาภายในจิตใจของลูกค้า  อีกทั้งยังมีความโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน   หลังจากที่องค์การทำการเลือกคุณค่าเสร็จสิ้นแล้วจะทำให้ทราบถึงตลาดเป้าหมาย และตำแหน่งมูลค่าตลาดของผลิตภัณฑ์ตามกลยุทธ์ที่องค์การเลือกใช้  การจัดหาคุณค่าในส่วนนี้องค์การจะต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย ดังนี้
            3.3.1 ผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งใดๆก็ตามที่เสนอให้แก่ตลาด เพื่อสร้างความสนใจ ความเป็นเจ้าของการบริโภค  ดยตอบสนองถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า  เช่น  สินค้า  บริการ  ความชำนาญ  บุคคล  สถานที่  ความเป็นเจ้าของ องค์การ ข้อมูลและความคิด
            3.2.2 ราคา คือ มูลค่าที่กำหนดไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรือจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาผลิตภัณฑ์นั้น และถือเป็นองค์ประกอบเดียว  ของส่วนประสมการตลาดที่ก่อให้เกิดรายได้ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความยืดหยุ่นด้านการเปลี่ยนแปลงราคาอีกด้วย
4. บทบาททางการตลาด
        4.1 ช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุน โดยดำเนินโปรแกรมทางการตลาด
        4.2ช่วแก้ปัณหาด้านการครอบครองส่วนแบ่ตลาดที่เพิ่มขึ้น  โดยมีแนวโน้มของการควบคุมบริษัทต่างๆ เข้าด้วยกัน
        4.3 ช่วยให้พนักงานที่มีพื้นฐานละประสบการทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกิจการ
สารสนเทศทางการตลาด
ระบบสารสนเทศทางการตลาด 
1.ความหมาย
ระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึง กระบวนการเพื่อการรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การวิเคราะห์และการเผยแพร่ข้อมูลทุกชนิดที่เกี่ยวข้องทางการตลาดอย่างเป็นระเบียบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและการดำเนินการทางกการตลาด เพื่อตอบสนองความพอใจของตลาด2. ประเภท
2.1 สารสนเทศเชิงปฎิบัติการ  ได้รรับจากการปฎิบัติงานด้านการตลาดเพื่อสร้างยอดขายของธุรกิจ
2.1.1 สารสนเทศด้านลูกค้า
2.1.2 สารสนเทศด้านการขาย
2.1.3 สารสนเทศด้านสินค้า
2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร ใช้สนับสนุนการบริหารการตลาด  การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
        1.       ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ   คือระบบการบันทึกข้อมูลพื้นฐานในองค์การซึ่งนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด
        2.       ระบบสารสนเทศทางการตลาด  คือระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทราบยอดขายของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะเชื่อมโยงข้อมูลกับสารสนเทศอื่น
        3.       ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์  คือระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
2. ระบบอัจฉริยะทางการตลาด   คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข่าวกรองทางการตลาด  ซึ่งก็คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งขันและสภาพแวดล้อมทางการตลาดด้านการแข่งขัน เทคโนโลยี ลูกค้า เศรษฐกิจและสังคม
3.ระบบวิจัยการตลาด    คือ  ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวิจัยการตลาด  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด  คือ  การนำเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล  วางระบบโดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ ตัวแบบและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ  เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวม
เทคโนโลยีทางการตลาด
1. โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการตลาด  คือซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ ถุกพัฒนาขึ้นใช้ได้เฉพาะกับงานด้านการตลาด
        1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการขาย
        1.2 โปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์
                1.3 โปรแกรมบริหารการข่นส่ง
2.  นวัตกรรมด้านการค้าปลีก ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลือกซื้อสินค้า
3 .หน่วยขายอัตโนมัติ  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายของพนักงาน โยอยู่ในรูปแบบของการใช้มือถือเคลื่อนที่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทได้
4.การใช้งานอินทราเน็ต    โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมขาย
       5.การใช้งานอินเทอร์เน็ต  ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บ  โดยใช้เคริองคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  ณ  ที่บ้าน
        หรือสำนักงานของลูกค้าโยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานขาย
                5.1การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   ด้วยการนำสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าด้วยระบบดิจิตอล
                5.2การสื่อสารการตลาด  สามรถเข้าถึงคนจำนวนมากได้วิธีง่ายๆ  และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสิอสาร
                5.3การโฆษราออนไลน์  เพื่อโฆษณาและขายผลิตภันฑ์  ผลดีคือช่วยลดค่าใช้จ่าย
                5.4การอีเมลล์   มีการรับส่งข่าวสารที่รวดเร็ว   ต้นทุนต่ำ
                5.5ตลาดอิเล็กทรอนิกส์    ป็นแหล่งรวบรวมของผู้ต้องการซื้อละผู้ต้องการขายมีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน
            5.6การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่   ป็รูปแบบหนึ่งของระบบส่งเสริมการขายธุรกิจที่พกพาอุปรณ์สื่อสารเข้ามา  ณ  บริเวณ  ใกล้เคียง
    6. การทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด  การทำโกดังร่วมกับสารสนเทศทางการตลาด    จะช่วยสร้างชุดเครื่องมือปรับการปฎิบัติการดีเลิศ  สำหรับงานด้านการขายและการตลาด  สร้างข้อได้ปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจ